บ้านล้านนาประยุกต์ งามสง่าริมแม่น้ำปิง

จากบ้านล้านนาริมน้ำหลังงามที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย จึงมีการปรับปร

ชื่อเสียงของ  อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2547 เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงการออกแบบของภาคเหนือ เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนาได้ดีแล้ว อาจารย์ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ หลังนี้นั่นเอง

 

ก่อนเข้าสู่ขอบเขตของตัวบ้านจะพบเรือนยุ้งข้าวตั้งเด่นอยู่บริเวณลานปูอิฐโล่งๆภายใต้ร่มไม้ใหญ่ที่ดูร่มรื่น “เรือนยุ้งข้าวหลังนี้มีสัดส่วนที่งดงามจนแทบ
ไม่ต้องดัดแปลงเลย แสดงให้เห็นว่าคนทำามีความคิดล้ำเลิศ เป็นสัจจะที่เด่นในแบบล้านนา ผมใช้เป็นห้องอ่านหนังสือ”

 

แม้จะปลูกสร้างมานานถึง 15 ปีแล้ว แต่อาจารย์จุลทัศน์ได้ปรับปรุงบ้านให้สวยงามน่าอยู่เสมอมา โดยได้แปลงโฉมบ้านและต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม
“บ้านจะน่าอยู่ได้ก็ต้องมีการดูแลปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ บ้านของผมเองก็ต้องปรับปรุงเป็นพิเศษ เนื่องจากทุกปีจะมีน้ำท่วม ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย ที่โดนหนักสุดเห็นจะเป็นเมื่อปี 
2548 จึงได้โอกาสปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้เวลาทำานาน ปี ที่ช้าเพราะเปลี่ยนโครงสร้างส่วนล่าง จากเดิมที่เป็นไม้ก็ทำเป็นคันเขื่อนตรงส่วนที่เป็นใต้ถุน เพื่อป้องกันเรื่องน้ำโดยเฉพาะ หากไม่ซ่อมเกรงว่าจะเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ และการซ่อมแซมก็จะยากกว่าเดิมด้วยครับ”

 

เดิมขอบชานมาสิ้นสุดแค่ขอบบน แต่หลังจากที่รื้อศาลาหลังเก่าออกไป อาจารย์จุลทัศน์ได้ต่อเติมส่วนขอบล่างเป็นบ่อน้ำรูปยาวตลอดแนวชานดูสัมพันธ์กับแม่น้ำปิง ทั้งยังเพิ่มความงดงามให้ บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ หลังนี้

 

โถงโล่งซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเรือนด้านทิศตะวันออกกับตะวันตก ผนังทั้งสองด้านจะกั้นไม่สุดถึงเพดานด้านหนึ่งเป็นช่องโล่งสำหรับระบายอากาศ ส่วนอีกด้านเป็นด้านนอก จึงทำาเป็นลูกกรงเรียบๆ ช่วยในเรื่องความปลอดภัย

 

ห้องรับแขกดัดแปลงจากห้องนอนเก่าวางโซฟาเบดตัวใหญ่ในแนวเฉียง โดยมีโต๊ะกลางเป็นขอนไม้ที่ตัดแต่งเรียบร้อยแล้ว “เดิมห้องนี้มีประตูเพราะเป็นห้องนอน พอเปลี่ยนมาเป็นห้องรับแขก ผมต้องการให้ห้องเปิดโล่งที่สุด จึงเอาประตูออกไปส่วนหนึ่ง”

 

 

มุมนั่งเล่นภายในห้องรับประทานอาหารตีไม้ระแนงเป็นตารางแนวเฉียงเพื่ออำพรางแสงช่วยลดความแรงของแสงแดดในช่วงบ่ายที่จะส่องผ่านบานเปิดกระจกใสที่อยู่หลังระแนงนี้

 

 

นี่คงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำางานของสถาปนิกรุ่นใหญ่ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดที่มาจากรากเหง้าเดิมกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยต่อยอดให้งานสถาปัตยกรรมล้านนาได้เจริญงอกงามไม่หยุดนิ่ง  บ้

 

อ้างอิง https://www.baanlaesuan.com/241000/houses/applied-lanna-house-2

ความคิดเห็น
มิ้ม สุนิสา 3 ปี

แจ๋ว